ทีม Comunity โรงพยาบาลกรงปินัง
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease ,COPD)
การส่งเสริมและการป้องกัน
- ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรค ต้องหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และยาเส้น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ หรือสถานที่มีควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการใช้ถ่านไม้หรือมูลสัตว์ในการประกอบอาหาร หรือควรมีระบบดูดควันที่ดีในบ้านหรือในที่ทำงาน
- การป้องกันยังต้องอาศัยจากสังคมร่วมด้วย เช่น การควบคุมสิ่งแวดล้อมของอากาศ โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการในการจัดการกับฝุ่นละอองของสารต่างๆ ไม่ให้มีค่าสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด มีการระบายอากาศที่ดี มีการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง มีการตรวจสุขภาพพนักงานเป็นประจำเพื่อคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (การตรวจสมรรถภาพปอด) หากพบว่าเริ่มความผิดปกติของปอด ควรให้เปลี่ยนประเภทงาน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคแล้ว หากสูบบุหรี่หรือยาเส้นอยู่ ต้องหยุดสูบให้ได้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ก็ตาม เช่น เป็นโรคทางพันธุกรรมอยู่ เพราะจะทำให้การดำเนินโรคเร็วขึ้น รวมทั้งต้องไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย
- หากผู้ป่วยอาศัยอยู่ในเมืองที่มีปัญหามลภาวะทางอากาศ พยายามอยู่แต่ในบ้านหรือในอาคาร เพราะจะมีฝุ่นละออง ควันพิษต่างๆ น้อยกว่าตามท้องถนน และควรรู้จักการใช้หน้ากากอนามัย
- ผู้ป่วยควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และเชื้อนิวโมคอคคัส
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561
ภาวะติดเชื้อ (Sepsis)
การส่งเสริมและการป้องกัน
สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผู้ที่มีไข้หรือสงสัยว่าได้รับเชื้อแบคทีเรียควรแพทย์
เพื่อปรึกษาและรับการรักษาทันที
หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียจริง จะจ่ายยาปฏิชีวนะให้แก่ผู้ป่วย
หากได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทันเวลา
จะช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียกระจายเข้าสู่กระแสเลือด
และไม่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
นอกจากนี้พ่อแม่ช่วยดูแลลูกไม่ให้ติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อบางประเภทได้
โดยพาเด็กไปรับวัคซีนครบอย่างสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่
- เลี่ยงใช้สารเสพติด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
- ระวังเมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus,DM)
การส่งเสริมและการป้องกัน
- ร่วมมือกันในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในลักษณะเครือข่ายสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลชุมชน อบต. รพ.สต.
- มีการให้การดูแลเฉพาะรายบุคคล (Self management support) โดยมีขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพ การเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริง และวางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมเบาหวาน
- ควรนำรูปแบบ Chronic care model มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวาน
- มีกระบวนการกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อน (Self help group) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสนใจ และนำเอาไปปฏิบัติได้จริง
- ทีมสุขภาพสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย มีเวลาในการพูดคุยซักถามปัญหา และใช้เทคนิคการรับฟังด้วยใจ เพื่อเข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยที่แท้จริง นำไปสู่การวางแผนร่วมกันกับผู้ป่วยและญาติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- มีการจัดระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยแต่ละรายสามารถเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ให้เวลากับผู้ป่วย
- เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกของการเกิดโรค (1-2 ปี) ซึ่งจะได้ผลดีกว่ากลุ่มที่เรื้อรัง (5-10 ปี)
- เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
- ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาจดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล แทนน้ำผลไม้ รับประทานโยเกิร์ตแบบไม่เติมน้ำตาล ผลไม้สด หรือถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นของว่างระหว่างวัน เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อขาวที่ไม่ติดมัน อย่างปลา ไก่ หรืออาหารทะเล แทนเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
- ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
การส่งเสริมและการป้องกัน
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุง หรือรับประทานอาหารและภายหลังถ่ายอุจจาระ
- ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปที่ชื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้เดือดทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทานl ผักหรือผลไม้ ก่อนรับประทานให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
- ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานโรค
- ขวดนมล้างให้สะอาด และต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที
- กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน เช่น อุจจาระเด็กกำจัดหรือทิ้งในโถส้วมหรือกลบให้มิดชิด
- ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Acute Coronary Syndrome, ACS )
การส่งเสริมและการป้องกัน
- การออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเป็นประจำสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ปลา ผัก และผลไม้ งดรับประทานอาหารที่มี รสมันจัด หรือมีคอเลสเตอรอลสูง
- ผ่อนคลายจิตใจเพื่อลดภาวะเครียดรับประทานยาโดยเคร่งครัด พกยาอมใต้ลิ้นเพื่อได้ใช้ทันที
- การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรค โดยเฉพาะการควบคุมและรักษาโรคที่พบร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนจนเกินไป
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)