วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus,DM)

การส่งเสริมและการป้องกัน


  • ร่วมมือกันในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในลักษณะเครือข่ายสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลชุมชน อบต.  รพ.สต.
  • มีการให้การดูแลเฉพาะรายบุคคล (Self management support) โดยมีขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพ การเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริง และวางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมเบาหวาน
  • ควรนำรูปแบบ Chronic care model มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวาน
  • มีกระบวนการกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อน (Self help group) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสนใจ และนำเอาไปปฏิบัติได้จริง
  • ทีมสุขภาพสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย มีเวลาในการพูดคุยซักถามปัญหา และใช้เทคนิคการรับฟังด้วยใจ เพื่อเข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยที่แท้จริง นำไปสู่การวางแผนร่วมกันกับผู้ป่วยและญาติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • มีการจัดระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยแต่ละรายสามารถเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ให้เวลากับผู้ป่วย
  • เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกของการเกิดโรค (1-2 ปี) ซึ่งจะได้ผลดีกว่ากลุ่มที่เรื้อรัง (5-10 ปี)
  • เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
  • ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาจดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล แทนน้ำผลไม้ รับประทานโยเกิร์ตแบบไม่เติมน้ำตาล ผลไม้สด หรือถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นของว่างระหว่างวัน เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อขาวที่ไม่ติดมัน อย่างปลา ไก่ หรืออาหารทะเล แทนเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
  • ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น